รูปแบบของการดำเนินธุรกิจ การประกอบธุรกิจ การค้าอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบ ทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง หรืออาจดำเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้ การที่จะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจการค้าในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจเป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จนำมาซึ่งผล ประโยชน์และกำไรสูงสุด
รูปแบบองค์กรธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1 เป็นนิติบุคคล (จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย)
1.ห้างหุ้นส่วน
– ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
– ห้างหุ้นส่วนจำกัด
2. บริษัทจำกัด
3. บริษัทมหาชนจำกัด
4. องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ
2 ไม่เป็นนิติบุคคล (อาจต้องจดทะเบียนตามพรบ.ทะเบียนพาณิชย์)
1.กิจการค้าเจ้าของคนเดียว
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญ
คำถามที่ทุกคนถามบ่อยๆ หจก ต่างจาก บริษัท ตรงไหน และหลายๆ คนที่จะเริ่มประกอบธุรกิจ มักจะตั้งคำถามอยู่เสมอ และมักจะไม่ค่อยได้รับคำตอบที่โดนใจ ว่าจะเลือกแบบไหนดี แต่ในครั้งนี้ อาจแนะนำว่า หากท่านต้องการประกอบธุรกิจจริงๆ ต้องถามกับตัวเองว่าต้องการทำระยะสั้นหรือระยะยาว หากต้องการลองทำดู ก็จะแนะนำให้จดเป็นหจก. แต่ถ้าหากต้องการทำระยะยาวก็เปิดเป็นบริษัทฯ เหตุที่แนะนำเช่นนั้นก็เพราะ ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จะสูงกว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด
จองชื่อบริษัท ในการจองชื่อเพื่อจดทะเบียนบริษัท มักจะมีช้อจำกัดเนื่องจากมีการจดทะเบียนบริษัท มาก่อนหน้านี้แล้วหลายสิบปี ชื่อที่เราชอบมักจะซ้ำ ไม่ว่าจะพ้องเสียงอีก มันเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวในการจองชื่อบริษัท ซึง ยังจะมีข้อจำกัดในการจองชื่อบริษัท ตามคำแนะนำในการจองชื่อเพื่อจดทะเบียนบริษัท ของกรมพัฒนาธุรกิจ อีกด้วย
ตัวอย่าง การจดทะเบียนบริษัท หลังจากจองชื่อเพื่อจะจดทะเบียน แล้วระหว่างรอการทำตรายางเราก็มาพิมพ์แบบฟอร์มการจดทะเบียนบริษัท ได้ตาม ตัวอย่าง การกรอกแบบฟอร์ม จดทะเบียนบริษัท ที่เรามีให้ มีรายละเอียดค่อนข้างมาน่อยแต่ไม่เกินความสามารถครับ
การทำตรายางสำหรับจดทะเบียนบริษัท หลังจากจองชื่อเพื่อจะจดทะเบียน ได้แล้วก็ถึงเวลาต้องออกแบบตรายางเพื่อใช้ในการจดทะเบียน แต่การทำตรายางก็มีข้อกำหนดในการทำตรายาง ต้องศึกษาก่อนทำจะได้ไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยสิ้นเปลือง
ระยะเวลาในการจดทะเบียนบริษัท ในปัจจุบันการจดทะเบียนบริษัท จะใช้ระยะเวลาเพียงวันเดียวหากเอกสารทุกอย่างถูกต้อง…
สถานที่จดทะเบียนบริษัท ถ้าพิมพ์ชุดจดทะเบียนบริษัทเสร็จแล้วเราจะนำชุดคำขอจดทะเบียนบริษัทไปยื่นต่อนายทะเบียน ได้ที่ไหน นั้นเป็นคำถามที่หลายๆคนถามมา คำตอบคือ เราสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัทได้ทุกพื้นที่ทั่วไทยแล้ว กรมพัฒนาธุรกิจการค้าพิจราณาอนุมัติให้มีการยื่นข้ามเขตได้แล้ว หากท่านสะดวกที่ไหนก็สามารถยื่นได้ทุกๆสำนักงานพื้นที่ที่กรมพัฒนาธุรกิจตั้งอยู่
ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท ทางกรมพัฒนาฯ ได้กำหนดค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนต่างไว้เป็นตรางค่าธรรมเนียมไว้แล้ว แต่ครั้งนี้จะพูดถึงแค่ว่าค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท จะเป็นเท่าไร
หากดูจากตรางค่าธรรมเนียมแล้วจะแบ่งออกมาเป็นค่าธรรมเนียมบริษัทได้ดังนี้
จดทะเบียนบริษัทจำกัด
บาท |
|
1. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ | |
1.1 ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1,000,000 บาท |
500.- |
1.2 ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่กำหนดไว้ |
50.- |
(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท) | |
1.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท |
25,000.- |
2. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนจัดตั้งบริษัท | |
2.1 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิทุกข้อ(นอกจากการเพิ่มทุน) |
400.- |
2.2 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อเพิ่มทุน | |
(1) ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มไม่เกิน 1,000,000 บาท |
500.- |
(2) ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่เพิ่มขึ้น |
50.- |
(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท) | |
(3) ทุนจดทะเบียนที่เพิ่มตั้งแต่ 50,000,000 บาท |
25,000.- |
3. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด | |
3.1 ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1,000,000 บาท |
5,000.- |
3.2 ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่กำหนดไว้ |
500.- |
(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท) | |
3.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป |
250,000.- |
4. จดทะเบียนควบบริษัทจำกัด |
5,000.- |
5. จดทะเบียนการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือ | |
ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด | |
5.1 ทุนจำนวนไม่เกิน 1,000,000 บาท |
5,000.- |
5.2 ทุนจดทะเบียนทุก 100,000 บาท ที่กำหนดไว้ |
500.- |
(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท) | |
5.3 ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป |
250,000.- |
6. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมบริษัท | |
6.1 จดทะเบียนมติพิเศษ (เพิ่มทุน/ลดทุน/ควบบริษัท) |
400.- |
6.2 จดทะเบียนเพิ่มทุน | |
คิดตามทุนที่เพิ่มทุก 100,000 บาท |
500.- |
(เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท) | |
เพิ่มทุนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป |
250,000.- |
6.3 จดทะเบียนลดทุน |
400.- |
6.4 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิทุกข้อ |
400.- |
6.5 จดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับทุกข้อ |
400.- |
6.6 จดทะเบียนกรรมการเข้าใหม่ คนละ |
400.- |
6.7 จดทะเบียนกรรมการออก (ไม่กำหนดจำนวนคน) |
400.- |
6.8 จดทะเบียนแก้ไขอำนาจกรรมการ |
400.- |
6.9 จดทะเบียนแก้ไขสำนักงานแห่งใหญ่ และ/หรือสำนักงานสาขา |
400.- |
6.10 จดทะเบียนแก้ไขดวงตรา |
400.- |
6.11 จดทะเบียนรายการอื่น ๆ ซึ่งเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ |
400.- |
7. จดทะเบียนเลิกบริษัทและชำระบัญชี |
400.- |
8. จดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี |
400.- |
9. จดทะเบียนแก้ไขอำนาจผู้ชำระบัญชี |
400.- |
10. จดทะเบียนแก้ไขสำนักงานผู้ชำระบัญชี |
400.- |
11. จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี |
400.- |